จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556


ประวัติความเป็นมาของเรือพระราชพิธี (๑)

     สำหรับเรือพระราชพิธีที่เข้าร่วมในกระบวนพยุยาตราชลมารคนั้นแรกเริ่มเดิมทีนั้น “เรือพระราชพิธี” ได้หามีไม่คงมีแต่เรือรบโบราณซึ่งใช้ในแม่น้ำและ ออกสู่ท้องทะเล ต่อมาการรบทัพจับศึกในแม่น้ำหมดสิ้นความสำคัญไปทีละน้อย เรือรบในแม่น้ำซึ่งเป็นเรือยาวทำด้วยไม้ใช้ฝีพายล้วนเหล่านี้จึงกลายมาเป็น เรือที่ใช้ในพระราชพิธีต่าง ๆ ที่พระมหากษัตริย์ไทยเสด็จพระราชดำเนินโดย กระบวนพยุหยาตราชลมารคมาจนเท่าทุกวันนี้
     ซึ่งในประวัติศาสตร์การรบพุ่งของชาติไทยเราอันมีราชธานีเก่า คือ กรุงศรีอยุธยา ซึ่งแวดล้อมด้วยแม่น้ำ ลำคลองมากมาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องใช้เรือรบในแม่น้ำเป็นสำคัญ และ ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ก็ทรงมียุทธวิธีที่จะรักษาพระนครโดยอาศัยกำลังทัพเรือ จึงทรงประ ดิษฐ์เรือไชยและเรือรูปสัตว์ขึ้นต่อมาก็ยังประดิษฐ์เรือกราบขึ้นอีกชนิดหนึ่งด้วย เรือรบโบราณเหล่านี้จึงแบ่งประเภทออกเป็น ๔ ชนิด คือ
     ๑. เรือแซ เป็นเรือโบราณของไทยซึ่งใช้ในแม่น้ำ เหตุที่ชื่อ “ แซ ” นั้น หมายถึงแม่น้ำ เรือชนิดนี้ใช้ในการลำเลียงพล ศาสตราวุธ ยุทโธปกรณ์ เสบียง กรัง เป็นเรือที่แล่นค่อนข้างช้า
     ๒. เรือไชย เป็นเรือที่ใช้ลำเลียงพลเช่นกัน และแล่นเร็วกว่าเรือแซ
     ๓. เรือรูปสัตว์ เรือชนิดนี้จะทำหัวเรือเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ มีครุฑ พญานาค เป็นต้น ใต้รูปสัตว์ก็จะมีช่องวางปืนใหญ่ ใช้เป็นเรือปืนด้วย
     ๔. เรือกราบ มีลักษณะคล้ายเรือไชย แต่แล่นเร็วกว่า
     ในสมัยต่อมาการรบทัพจับศึกในแม่น้ำได้หมดสิ้นไปทีละน้อย เรือรบในแม่น้ำเหล่านี้ จึงได้กลายมาเป็นเรือพระราชพิธีต่าง ๆ แม้ว่าจะสร้างขึ้นด้วย จุดประสงค์เพื่อใช้ในการสงครามแต่ก็เป็นเรือที่แกะสลักปิดทองเป็นลวดลายวิจิตรสวยงาม โดยเฉพาะหัวเรือและท้ายเรือเป็นส่วนที่สวยงามมาก บ้าง ก็จะเป็นรูปสัตว์ ยักษ์ และลิง ในวรรณคดีไทย ส่วนลำเรือนั้น ขุดจากซุงทั้งต้นส่วนใหญ่นิยมใช้ไม้ตะเคียน เรือบางลำจึงจะเห็นว่าทำจากต้นไม้ที่ใหญ่ มาก เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ มีความยาวถึง ๔๔.๙๐ เมตร และความกว้าง ๓.๑๕ เมตร และเรือทุกลำล้วนใช้ฝีพายจำนวนมากมายในการแล่นเรือ ให้เคลื่อนไปอย่างคล่องแคล่วราวมีชีวิตชีวา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น